ประชุมร่วมกับเครือข่ายวิจัยส่งออกโคเนื้อสู่จีน

สาขาวิชาฯ ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยซึ่งเป็นคณาจารย์ของสาขาวิชา ร่วมประชุมยุทธศาสตร์การยกระดับเพื่อการส่งออกโคเนื้อสู่ สป.จีน ร่วมกับวิสาหกิจผู้ส่งออกโคเนื้อ เชียงราย สุโขทัย สุพรรณบุรี ฯลฯ เก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการส่งออกร่วมกับ สป.จีน ก้าวสู่ impact 3,000 ล้านต่อปี ต่อไป ป้ายหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง #ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค #เราสร้างยุทธศาสตร์โดยนักยุทธศาสตร์

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา

ในวันที่ 10-11 สิงหาคม 2567 สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ได้จัดโครงการ “กิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา” ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ณ น้ำโขงริเวอร์ไซด์ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยในงานได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง ให้โอวาทและกล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผูัทรงคุณวุฒิจากภายนอก หลายท่าน เพื่อร่วม เสวนาหัวข้อ “การพัฒนาการเขียนผลการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ”

ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทาง R3A ไทย-ลาว-จีน ร่วมกับ สกสว. และ บพท.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายนำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา และสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค นำคณะผู้บริหารและคณะทำงานของ สกสว. และ บพท. ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทาง R3A ไทย-ลาว-จีนเพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัยเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ และเขตเศรษฐกิจพิเศษสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

การประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาชาวิชาฯ เข้ารับการประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค โดยผลการประเมินสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปีนี้อยู่ที่ 4.21 สูงกว่าปีที่เเล้ว 4.16 ในส่วนหลักสูตร ป.โท สาขาเดียวกันซึ่งเปิดขึ้นปีเเรกยังไม่มีบัณฑิต ผลการประเมินอยู่ที่ 3.45 ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีในอนาคต

การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ตัวแทนนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคเข้ารับการสัมภาษณ์กระบวนการเรียนรู้ เพื่อการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และในครั้งนี้ได้มีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของหลักสูตร ร่วมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

สาขาวิชาฯ ร่วมประชุมขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค

ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ ได้รับเชิญให้เข้าร่วม “การประชุมสัมมนาและประชาพิจารณ์ผลการศึกษา โครงการวิจัยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาคเพื่อสร้างไทยเป็นศูนย์กลางแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทิศทางการขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาคโดยกลไกเชิงพื้นที่ของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)จัดโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา: 08.30 น. – 16.30 น. สถานที่: โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ 477 ถ.ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

คณาจารย์สาขาฯร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

วันที่ 25-28 มีนาคม 2567 คณาจารย์สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคได้รับเชิญในการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประจำห้องนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๖ และระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๔ ในประเด็น “พุทธนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน” ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น รวมถึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการกับอีก 18 มหาวิทยาลัย #เครือข่ายยุทธศาสตร์#ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค #เราสร้างนักยุทธศาสตร์ด้วยนักยุทธศาสตร์#มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

พัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ณ ม.แม่โจ้

สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ได้จัดกิจกรรมการพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์ในระดับดุษฎีบัณฑิต ในวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากท่านคณบดี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รศ.ดร. วินิจ ผาเจริญ ผศ.ดร.ทรงศักดิ์ พรมดี และอาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร ที่ได้ให้เกียรติเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในครั้งนี้

ติดตามความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ นศ.จีน

ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ผศ.ดร.นพชัย ฟองอิสสระ และ ดร.โกมินทร์ วังอ่อน ได้เดินทางเพื่อติดตามความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์นักศึกษาปริญญาเอก ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และให้คำปรึกษากับนศ. โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากนักศึกษาที่พร้อมเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเตรียมความพร้อม(เขียน และเก็บข้อมูล วพ.)สำหรับสอบหัวข้อและสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ ขอขอบคุณสถานที่ สมาพันธ์โลจิสติกส์มณฑลยูนาน ณ เมืองคุนหมิง